วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

Aspire one D250




Aspire one D250


รหัสสินค้า: 000408

ปกติ 15,943.00 บาท
ราคาพิเศษ 13,803.00 บาท
ประหยัด 2,140.00 บาท

รายละเอียด:

Intel Atom Processor N280 (1.66GHz, 512KB L2 cache, 667MHz FSB)
1024MB DDR2-667/160GB HDD/Multi-in-1/LAN/WLAN/Bluetooth
10.1" WSVGA high-brightness Acer CrystalBrite TFT LCD/Camera/Windows XP Home
Acer Power Pac 2008
มีสีให้เลือก 4 สีคือ Sapphire Blue , Burgundy Red , Diamond Black , Seashell White

FRee: USB DVD-RW

การ์ดแสดงผล (Display Card)





Display Card (การ์ดแสดงผล)

หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

หน่วยความจำ

การ์แสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น

เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ

ความละเอียดในการแสดงผล

การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด

โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True Color

อัตราการรีเฟรชหน้าจอ

การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้

อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันมีมากกว่า 100 เฮิรตซ์ ขึ้นอยู่กับยี้ห้อของการ์ดแสดงผล ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี

การ์ดเสียง (SoundCard)


การ์ดเสียงหรือซาว์ดการ์ดที่หน้าที่ในการให้กำเนิดเสียงจากเครื่อง
คอมพิวเตอร์ โดยต้องทำงานควบคู่ไปกับลำโพงด้วย ในปัจจุบันมักจะมีการนำ
คอมพิวเตอร์มาใช้งานประเภทมัลติมีเดียที่ให้ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น
ใช้ดูหนังฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม งานเหล่านี้ต่างก็ต้องพึ่งพาระบบเสียง
ที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในการทำงานเหล่านี้ทั้งสิ้น ดังนั้นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
จึงมีการติดตั้งระบบ เสียงให้กับคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่อง มีทั้งแบบ Sound On
Board หรือแบบที่เป็นการ์ดโดยจะต้องนำมาติดตั้งลงบนสล็อตในเมนบอร์ด
ปัญหาของการ์ดเสียงบางครั้งจะส่งผลกระทบกับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง
คาดไม่ถึง และส่วนใหญ่จะเกิดจากตัวไดรเวอร์ของการ์ดเอง จนบางครั้งทำให้
วินโดวส์ไม่สามารถบู๊ตเครื่องหรือชัตดาวน์ได้ วิธีแก้ปัญหาคือต้องไปดาวน์โหลด
ไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่มาติดตั้ง
การ์ดเสียง

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

ซีดีรอม-ดีวีดี(CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW)




CD-ROM / CD-RW / DVD

ไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (CD-RW) ซีดีเพลง (Audio CD) โฟโต้ซีดี (Photo CD) วิดีโอซีดี (Video CD) โดยไดรฟ์ทั้งสามประเภท จะมีความสามารถในการอ่านข้อมูล จากแผ่นซีดีที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วย จะต้องเลือกใช้ไดรฟ์ CD-RW และถ้าต้องการอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ก็ต้องใช้ไดรฟ์ DVD นอกจากนี้ยังมีไดรฟ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Combo Drive คือเป็นไดรฟ์ที่รวมทั้งไดรฟ์ DVD และไดรฟ์ CD-RW อยู่ในไดรฟ์เดียว ทำให้ทั้งดูหนังฟังเพลง บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้เลย ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 8X, 40X, 50X ยิ่งมากก็คือยิ่งเร็ว ส่วน CD-RW นั้นจะมีตัวเลขแสดง เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะเพิ่มความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น 24/10/40X นั่นคือความเร็วในการบันทึกแผ่น CD-R สูงสุด ความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-RW และความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีโปรแกรม หรือซีดี เพลง


ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)



ฟล็อปปี้ดิสก์หรือfioppy disk drive เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลอย่างหนึ่งสำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงดิสก์เก็ตต์ ผู้ใช้ทั่วไปมักเรียกกันว่า “ไดร์ A”มีขนาด3.5” มีความจุ1.44MB การติดตั้งจะใช้สายพานแบบ 34Pin ต่อเข้าช่อง

คอนเน็คเตอร์ของฟล็อปปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยสายแพของฟล็อปปี้ดิสก์มีการ

ไขว้ขาไว้ด้วยเพื่อกำหนดเป็นไดร์ฟ AหรือB ฟล็อปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ราคาไม่

แพงตกอยู่ประมาณ 400-500บาททุกยี่ห้อและมีคุณสมบัติเหมือนๆกัน

การติดตั้งสายไฟ ซีดีรอม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์

ฟล็อปปี้ดิสก์เสียบสายจ่ายไฟเลี้ยงและสายควบคุมเข้ากับท้ายตัวไดร์ฟ

ให้ถูกด้าน


! สังเกตุที่ขั้วจะมีด้านหนึ่งที่แบนราบแล้วจะมีเดือยล็อก

ควรเสียบให้ถูกด้าน ถ้าเสียบยากไม่ควรที่จะฝืน

เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้!